วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Airborne Precautions

แนวทางปฏิบัติสำหรับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ โดยโมเลกุลนั้นมีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ขนาดกำลังขยายกว่า 3 ล้านเท่าจึงจะมองเห็น เชื้อโรคกลุ่มนี้ได้แก่ Measles(หัด), Varicella(หรือ chicken pox หรือ อีสุกอีใส), Tuberculosis(วัณโรค) เป็นต้น การแพร่กระจายด้วยโมเลกุลขนาดเล็กมาก ๆ ด้วยน้ำหนักที่เบามากตามไปด้วยนั้น ทำให้ฟุ้งกระจายไปได้ไกล และล่องลอยอยู่ในอากาศได้นาน เมื่อเกิดการระบาดขึ้นจึงทำให้โอกาสแพร่กระจายสูงและเป็นช่วงการระบาดที่ยาวนาน เนื่องจากโมเลกุลล่องลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ
การป้องกันต้องสวมผ้าปิดปากจมูกที่มีตัวกรองโมเลกุลขนาดเล็กได้ เช่น N95 ในช่วงของการระบาดไข้หวัดใหญ่ H1N1 , H5N1, SARS เริ่มมีการใช้ N95 อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นช่วงการระบาดรุนแรงไปทั่วโลกจึงต้องมีการให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันตนเองจากโรคระบาดนั้น เมื่อมีผู้ป่วยมารับป่วยในสถานพยาบาลควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยก หรือห้อง Negative ถ้าเป็นไปได้ ซึ่งต้องควบคุมการไหลของทิศทางลมให้ดี ให้อากาศหมุนเวียนอยู่เสมอ >= 12 รอบ/ชั่วโมง ประตูห้องแยกควรปิดอยู่ตลอดเวลา เครื่องอำนวยความสะดวกภายในห้องให้มีเท่าที่จำเป็น และจำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปากปิดจมูก ส่วนบุคลากรสวมอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจอย่างเหมาะสมในการดูแลผู้ป่วย ในหน่วยงานที่มีปัญหาระดับโครงสร้าง ไม่สามารถปรับเปลี่ยนห้องแยกได้ ให้เน้นหลักการการเรื่องการไหลเวียนของอากาศโดยระวังไม่ให้อากาศจากทางผู้ป่วยไหลวนมายังผู้ป่วยรายอื่น กล่าวคือ ให้อากาศไหลทางอากาศสะอาดมากมายังอากาศสะอาดน้อย และหลักการของห้องแยกคือ "จำกัดให้เชื้อโรคอยู่นิ่งๆ" ป้องกันการปนเปื้อนในอากาศไหลปะปนกับผู้ป่วยรายอื่น ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อในหน่วยงานขึ้นได้ อาจใช้ Contact precautions ร่วมด้วย เมื่อมีการสัมผัสตัวผู้ป่วย หรือสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย

สิ่งที่ใช้ควบคุมการไหลของอากาศ คือ
  1. ความแตกแต่างของความดันอากาศ (หลักการของ Negative pressure)
  2. ตำแหน่งของการเข้าและความเร็วของการไหลของอากาศ
  3. ตำแหน่งของการไหลออกของอากาศ
การเจือจางและกำจัดการปนเปื้อนในอากาศ
  1. ให้อากาศหมุนเวียนภายในห้อง >= 12 รอบ/ชั่วโมง
  2. ใช้ตัวกรองอากาศ HEPA filter
  3. ใชรังสี UV ในการฆ่าเชื้อในท่อดักอากาศออกจากห้องผู้ป่วยเพื่อปรับปรุงสภาพอากาศให้ดีก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม แต่ไม่แนะนำการใช้ UV ติดตั้งทั่วไปเนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังไหม้เมื่อโดนนาน ๆ และเป็นการก่อมะเร็งผิวหนังได้
โรคอื่น ๆ ที่มีการแพร่กระจายแบบ Airborne ได้แก่
Anthrax, Disseminated Herpes zoster, Varicella zoster, Monkey pox, Measles, M.tuberculosis: pulmonary, laryngeal, extrapulmonary with drainage lesion หลาย ๆ ครั้งมีความประมาทในการดูแลผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยเป็นวัณโรคตำแหน่งอื่น ที่ไม่ใช่วัณโรคปอด เพราะเข้าใจผิดว่าการดูแลผู้ป่วยแบบ Airborne นั้นเป็นเฉพาะโรควัณโรคปอดเท่านั้น จึงทำให้ประมาทต่อการป้องกันผู้่ป่ว่ยโรคอื่น และที่สำคัญไม่ใช่แค่วัณโรคในปอดหรือทางเดินหายใจเท่านั้นที่สามารถแพร่กระจายแบบ Airborne ได้ แต่หมายรวมไปถึง วัณโรคตำแหน่งอื่น ๆ ที่มีสารคัดหลั่งไหลออกมาให้เห็นหรือมีการใส่สายระบายสารคัดหลั่งเหล่านั้นที่ตรวจพบเชื้อวัณโรคออกมาภายนอก เมื่อสารคัดหลั่งเหล่านั้นแห้งหรือปนเปื้อนพื้นผิวสิ่งแวดล้อม เมื่อแห้งจะสามารถปลิวฟุ้งกระจายกลายเป็น Airborne ได้เช่นกัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น