วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Isolation Precautions

          หลักการพื้นฐานที่เป็นสากลทั่วโลกสำหรับการป้องกันและการแพร่กระจายของเชื้อ สามารถนำไปใช้ได้กับทุกคน ถือหลักการที่ว่า ผู้ป่วยทุกรายอาจมีเชื้อที่ก่อโรคไ้ไม่ว่าจะมีอาการแสดงออกมาให้เห็นหรือไม่ ซึ่งในผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการนั้น อาจมีเชื้อที่สามารถแพร่สู่บุคคลอื่น ๆ ได้โดยไม่มีอาการแสดงบ่งบอกถึงการติดเชื้อ โดยทุกคนต้องป้องกันการสัมผัสกับเลือด สารน้ำ สารคัดหลั่งที่ออกจากร่างกาย เช่น เยื่อเมือก หรือจากผิวหนังที่มีรอยแยก สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
         1.  Standard Precautions
         2.  Transmission-basesd precautions
          Standard Precautions  หมายถึง การปฏิบัติที่ต้องใช้กับผู้ป่วยทุกราย ไม่เน้นแต่เฉพาะผู้ป่วยที่แสดงอาการออกมาให้เห็นเท่านั้น แต่บุคคลที่ไม่แสดงอาการอาจมีเชื้อโรคที่สามารถแพร่กระจายได้ แต่ยังไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นชัด หรือจำนวนยังไม่มากพอให้เกิดโรค หรือก่ออาการรุนแรง
          Transmission-based precautions หมายถึง การปฏิบัติที่ใช้กับผู้ป่วยที่สงสัยหรือทราบแล้วว่ามีการติดเชื้อที่สามารถแพร่กระจายได้สูง โดยแบ่งตามกลไกการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งจำเป็นต้องทราบชนิดของเชื้อ และวิธีการแพร่กระจายเชื้อก่อน กลไกการแพร่กระจายเชื้อ สามารถแ่บ่งออกได้ 3 ชนิด ได้แก่
          1.  ทางอากาศ ที่เชื้อนั้นสามารถแพร่กระจายทางละอองฝอยขนาดเล็กมาก < 5 ไมครอน การป้องกันผ่านกลไกนี้เรียกว่า Airborne precautions
          2.  ทางละอองฝอย ที่เชื้อนั้นสามารถแพร่กระจายทางละอองฝอย ขนาด >= 5 ไมครอน ขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าทางอากาศ เรียกว่า Droplet precautions
          3.  ทางการสัมผัส ที่เชื้อนั้นสามารถติดต่อได้ง่ายแม้สัมผัสโดนตัว หรือสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย เรียกว่า Contact precautions
            หลักการทาง 3 นั้น จะต้องรู้ว่าผู้ป่วยมีกลไกการแพร่กระจายเชื้อแบบใด และสามารถใช้ร่วมกันได้ ไม่เฉพาะเจาะจงหลักการใดหลักการหนึ่ง เช่น Droplet และ Airborne จะใช้ Contact precautions มาร่วมด้วยได้ เนื่องจากการสัมผัสละอองฝอยทุก ๆ ขนาด ก็สามารถนำพามาซึึ่งเชื้อโรคได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น